พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
วัวธนูหลวงพ่อน้...
วัวธนูหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
(วัวธนูหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม)

#สุดยอดวัวธนูอันดับ1ของเมืองไทย

นอกจากกะลาแกะราหูอมจันทร์ของหลวงพ่อน้อย คนฺธโชโต แห่งวัดศีรษะทอง จ.นครปฐม อันลือลั่นสะท้านปฐพีด้านพุทธคุณแล้ว หลวงพ่อน้อยท่านยังได้สร้างวัวธนู ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
ตามตำนานที่แท้จริง หลวงพ่อน้อยท่านได้สร้างวัวธนูขึ้นตามตำราที่ได้ตกทอดกันมา เชื่อกันว่าสมเด็จพระวันรัตน วัดป่าแก้ว (เดิมชื่อวัดพระยาไทย) ในปัจจุบันก็คือ วัดใหญ่ชัยมงคล นั่นเอง เป็นเจ้าของต้นตำรับในการสร้างวัวธนู
วิธีการสร้างวัวของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้น หลวงพ่อน้อยท่านได้จัดสร้างในโบสถ์ มีโรงพิธี ซึ่งใช้ผ้าขาวขลิบทอง ขึงปิดทั่วห้องพิธี รวมทั้งเพดานฝ้าด้วย มีเครื่องพิธีเป็นหัวหมู พร้อมทั้งอาหารหวาน คาว ผลไม้นานาชนิด ล้อมวงด้วยด้ายสายสิญจน์รอบโบสถ์ พอถึงฤกษ์สิทธิโชคที่หลวงพ่อได้กำหนดไว้ ก็เริ่มพิธีด้วยการจุดธูปเทียนชัย
ซึ่งในสมัยนั้น ผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัวธนูนั้น ต้องเป็นผู้ชายล้วนที่บำเพ็ญเพียรถือศีลห้า ก่อนพิธีเจ็ดวัน และต้องนุ่งขาวห่มขาว เพราะว่าการสร้างวัวธนูนั้น จะต้องสร้างให้เสร็จภายในเวลา ๒ ชั่วโมง ๒๗ นาที และต้องสร้างในวันมาฆบูชา หรือในวันวิสาขบูชาเท่านั้น จึงต้องมีการเตรียมการเอาไว้เนิ่นๆ
การสร้างวัวธนูนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้า ก่อนเข้าพิธีก็มี
๑.ผูกโครงสร้างของวัวธนูโดยเส้นลวด
๒.เตรียมแผ่นโลหะ สำหรับทำตะกรุดดอกเล็ก
๓.ชันโรงจากต้นพุทรา มีทั้งที่หลวงพ่อน้อยท่านเก็บไว้ และผู้ให้สร้างวัวธนูนำมาเอง ใช้ภาชนะตั้งไฟ เคี่ยวเตรียมไว้
การสร้างวัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้น ต้องสร้างโครงของรูปร่างวัวธนูก่อน ด้วยลวดที่ทำมาจากเนื้อโลหะ โลหะที่นำมาทำเส้นลวด ได้แก่ โลหะทองแดง เงิน นาก ทองคำ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดเนื้อทองแดงมากกว่าแผ่นโลหะที่นำมาทำตะกรุดดอกเล็กก็เช่นกัน มีทั้งโลหะเนื้อทองแดง เงิน นาก และเนื้อทองคำ ซึ่งพอถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ หลวงพ่อน้อยท่านก็จะลงจารอักขระขอมในแผ่นโลหะ พร้อมกับม้วนเป็นตะกรุด ท่านลงจารด้วยคาถา หัวใจพระฉิม “นะชาลิติ” บางแผ่นอาจมีลงจารคำว่า นะ ๑๒ และ โม ๒๑ เข้าไว้ด้วย (ซึ่งหมายถึง พระคุณบิดามารดา ผู้ให้กำเนิด) เสร็จแล้วท่านส่งต่อให้ผู้เข้าร่วมพิธี นำไปใส่บรรจุในโครงลวดที่จะสร้างวัวธนู และให้เอาชันโรงที่เคี่ยวไว้พอกทับโครง แล้วปั้นเป็นวัวธนูต่อไป วัวธนูที่ปั้นเสร็จแล้ว หลวงพ่อน้อยท่านจะนำมาเจิมเขา ด้วยน้ำมันจันทน์ทุกตัว พร้อมทั้งภาวนาพระคาถากำกับซ้ำอีกครั้ง
วัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้น นอกจากสร้างโดยโครงลวดแล้ว วัวธนูของหลวงพ่อน้อย ที่สร้างด้วยชันโรงล้วนๆ ก็มี แต่ไม่มากนัก ผู้เข้าร่วมพิธีเล่าให้ฟังว่า ขณะทำพิธีนั้น ชันโรงที่เคี่ยวเตรียมไว้นั้นเหลือ และผู้เข้าร่วมพิธีต้องการวัวธนูเพิ่มอีก หลวงพ่อท่านก็จะปั้นให้ โดยไม่ต้องมีลวดเป็นโครงร่าง ซึ่งวัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้นจะมีรูปลักษณ์ และขนาดเล็ก ใหญ่ต่างกันไป แล้วแต่ผู้สร้างจะออกรูปแบบโครงสร้างของลวดเป็นแบบไหน วัวธนูตัวที่ใหญ่ที่สุดมีการสร้างตัวยาวถึง ๖ นิ้วก็มี แต่ไม่มากนัก
ส่วนวัวธนูที่สร้างจากเขาวัวกระทิงนั้น มีการสร้างไว้ไม่มาก ส่วนใหญ่ผู้สร้างแกะเขาเป็นรูปวัวมา แล้วเข้าร่วมในพิธี มีด้วยกันหลายฝีมือ
ลักษณะที่พึงสังเกตวัวธนูของหลวงพ่อน้อย
๑.วัวธนูที่แท้จริง จะมีโครงลวด และแผ่นตะกรุด จึงทำให้มีน้ำหนัก หากวัวธนูตัวไหนมีน้ำหนักเบา ต้องถามที่ไปที่มาให้ละเอียดถี่ถ้วนแน่ชัด
๒.วัวธนูที่สร้างจากชันโรง เนื้อชันโรงจะแห้งแน่นมาก เมื่อใช้กล้องส่องดู จะเห็นเนื้อชันโรงเหมือนผสมผงอยู่ด้วย แท้จริง คือ เปลือกต้นพุทราที่ผุ เมื่อเคี่ยวรวมกัน
๓.ชันโรงที่ปั้นเป็นวัวธนูจะต้องมีสีแดงดำ อมน้ำตาล สีจะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผิวกายของวัวธนู มีลักษณะหยาบ ไม่เรียบร้อย
๔.ไม่มีการลงอักขระที่ตัววัวธนู ถ้ามีก็ลงภายหลัง ไม่ปิดทองที่ตัววัวธนู ถ้ามีก็ปิดเป็นบางจุดเท่านั้น ถ้าปิดทั้งตัวเป็นการปิดทีหลังแน่นอน เพราะว่าการสร้างวัวธนูนั้นมีกำหนดเวลาในการทำพิธีน้อย และต้องเสร็จในพิธีด้วย
วิธีบูชาวัวธนู การบูชาวัวธนูของหลวงพ่อน้อยจะเหนื่อยก็ครั้งแรกเท่านั้น คือ ต้องไปหาน้ำจากสระถึง ๕ บ่อ บ่อละนิดหน่อย มาใส่แก้วไว้บูชา หาใบพุทรา ๕ ใบ หาใบหญ้าคา ๕ ใบ ให้รวมเป็นขอดไว้ใบละเปราะ แต่ละขอดให้ภาวนาพระคาถา “อุปคุตมัคมาร” ที่ว่า "อิมํ อฺงคพนฺธนํ อธิฏฐามิ"
เสร็จแล้วให้จุดเทียน ๑ คู่ ธูป ๔ ดอก บูชาแล้วให้น้อมระลึกถึงปรมาจารย์ ผู้ริเริ่มการสร้างวัวธนู ก็คือ สมเด็จพระวันรัตน วัดป่าแก้ว เป็นท่านแรก และองค์สุดท้ายให้น้อมระลึกถึงหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง เสร็จแล้วให้ภาวนาพระคาถากำกับวัวธนู ซึ่งมีข้อความดังนี้
"เวทาสากุกุ ทาสาเวทา ยัสสะตะถะสาสา ทิกุกุทิสาสา กุตะกุ ภูตะภุโค โหตุเต ชัยยะมังคลานิ"
เมื่อพูดถึงวัวธนูแล้ว ขอเสริมเรื่องควายธนูสักนิดก็แล้วกัน ที่จริงควายธนูกับวัวธนูนั้นต่างกัน เดิมทีในยุคนั้นมีแต่หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านสร้างเพียงผู้เดียวเท่านั้น สำหรับควายธนูเท่าที่ทราบมีการสร้างด้วยกันหลายอาจารย์ ทางภาคแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างรูปร่างควายธนูจากไม้ไผ่ที่ล้มขวางทาง เชื่อกันว่าขลังในตัว มาเหลาเป็นเส้นตอก นำมาถักเป็นโครงรูปควายธนู แล้วใช้กระดาษสาเขียนอักขระยันต์ใส่บรรจุไว้ในโครงไม้ไผ่อีกที แล้วพอกตัวควายธนูด้วยผง ทาทับด้วยรัก ให้เกิดความคงทน และนำมาปลุกเสก
ด้านพุทธคุณ และคุณประโยชน์ของวัวธนู เชื่อกันว่า วัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้นพุทธคุณครอบจักรวาลจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเมตตามหานิยม มีเสน่ห์ การค้าการขายดีเยี่ยม ปกป้องคุ้มครองทั้งตัวเอง และที่บ้าน ศัตรูกลับมารัก ทำน้ำมนต์ก็ดีเลิศ คือใช้น้ำที่อาบวัวธนูนั้นมาอาบตัวเรา เชื่อว่าจะไม่เจ็บป่วย ถ้าป่วยอยู่ ก็จะหายวันหายคืน ถ้าอาบประจำก็จะทำให้มีโชค มีลาภทั้งปี
หลวงพ่อน้อย คนฺธโชโต วัดศีรษะทอง เดิมชื่อว่า น้อย นามสกุล นารารัตน์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๕ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะโรง ณ ต.ศีรษะทอง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ด้วยอาการสงบ เวลาเพลพอดี
ผู้เข้าชม
3681 ครั้ง
ราคา
ขายแล้ว
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
เอราวัณ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0871914956
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงไทย / 554-0-03095-8
2. ธนาคารทหารไทย / 599-2-12771-1
3. ธนาคารทหารไทย / 057-2-76735-8

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ponsrithong2ponsrithongยุ้ย พลานุภาพเทพจิระศักดา พระเครื่องsomphop
TUI789mosnarokมนต์เมืองจันท์TotoTatoเจริญสุขพีพีพระสมเด็จ
ว.ศิลป์สยามnatthanetLeksoi8kaew กจ.อ้วนโนนสูงภูมิ IR
หมี คุณพระช่วยNithipornแมวดำ99ErawanPutputtangmo
อาร์ตกำแพงเพชรจิ๊บพุทธะมงคลศิษย์บูรพาเปียโนjazzsiam amuletโกหมู

ผู้เข้าชมขณะนี้ 717 คน

เพิ่มข้อมูล

วัวธนูหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
วัวธนูหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
รายละเอียด
(วัวธนูหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม)

#สุดยอดวัวธนูอันดับ1ของเมืองไทย

นอกจากกะลาแกะราหูอมจันทร์ของหลวงพ่อน้อย คนฺธโชโต แห่งวัดศีรษะทอง จ.นครปฐม อันลือลั่นสะท้านปฐพีด้านพุทธคุณแล้ว หลวงพ่อน้อยท่านยังได้สร้างวัวธนู ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
ตามตำนานที่แท้จริง หลวงพ่อน้อยท่านได้สร้างวัวธนูขึ้นตามตำราที่ได้ตกทอดกันมา เชื่อกันว่าสมเด็จพระวันรัตน วัดป่าแก้ว (เดิมชื่อวัดพระยาไทย) ในปัจจุบันก็คือ วัดใหญ่ชัยมงคล นั่นเอง เป็นเจ้าของต้นตำรับในการสร้างวัวธนู
วิธีการสร้างวัวของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้น หลวงพ่อน้อยท่านได้จัดสร้างในโบสถ์ มีโรงพิธี ซึ่งใช้ผ้าขาวขลิบทอง ขึงปิดทั่วห้องพิธี รวมทั้งเพดานฝ้าด้วย มีเครื่องพิธีเป็นหัวหมู พร้อมทั้งอาหารหวาน คาว ผลไม้นานาชนิด ล้อมวงด้วยด้ายสายสิญจน์รอบโบสถ์ พอถึงฤกษ์สิทธิโชคที่หลวงพ่อได้กำหนดไว้ ก็เริ่มพิธีด้วยการจุดธูปเทียนชัย
ซึ่งในสมัยนั้น ผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัวธนูนั้น ต้องเป็นผู้ชายล้วนที่บำเพ็ญเพียรถือศีลห้า ก่อนพิธีเจ็ดวัน และต้องนุ่งขาวห่มขาว เพราะว่าการสร้างวัวธนูนั้น จะต้องสร้างให้เสร็จภายในเวลา ๒ ชั่วโมง ๒๗ นาที และต้องสร้างในวันมาฆบูชา หรือในวันวิสาขบูชาเท่านั้น จึงต้องมีการเตรียมการเอาไว้เนิ่นๆ
การสร้างวัวธนูนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้า ก่อนเข้าพิธีก็มี
๑.ผูกโครงสร้างของวัวธนูโดยเส้นลวด
๒.เตรียมแผ่นโลหะ สำหรับทำตะกรุดดอกเล็ก
๓.ชันโรงจากต้นพุทรา มีทั้งที่หลวงพ่อน้อยท่านเก็บไว้ และผู้ให้สร้างวัวธนูนำมาเอง ใช้ภาชนะตั้งไฟ เคี่ยวเตรียมไว้
การสร้างวัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้น ต้องสร้างโครงของรูปร่างวัวธนูก่อน ด้วยลวดที่ทำมาจากเนื้อโลหะ โลหะที่นำมาทำเส้นลวด ได้แก่ โลหะทองแดง เงิน นาก ทองคำ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดเนื้อทองแดงมากกว่าแผ่นโลหะที่นำมาทำตะกรุดดอกเล็กก็เช่นกัน มีทั้งโลหะเนื้อทองแดง เงิน นาก และเนื้อทองคำ ซึ่งพอถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ หลวงพ่อน้อยท่านก็จะลงจารอักขระขอมในแผ่นโลหะ พร้อมกับม้วนเป็นตะกรุด ท่านลงจารด้วยคาถา หัวใจพระฉิม “นะชาลิติ” บางแผ่นอาจมีลงจารคำว่า นะ ๑๒ และ โม ๒๑ เข้าไว้ด้วย (ซึ่งหมายถึง พระคุณบิดามารดา ผู้ให้กำเนิด) เสร็จแล้วท่านส่งต่อให้ผู้เข้าร่วมพิธี นำไปใส่บรรจุในโครงลวดที่จะสร้างวัวธนู และให้เอาชันโรงที่เคี่ยวไว้พอกทับโครง แล้วปั้นเป็นวัวธนูต่อไป วัวธนูที่ปั้นเสร็จแล้ว หลวงพ่อน้อยท่านจะนำมาเจิมเขา ด้วยน้ำมันจันทน์ทุกตัว พร้อมทั้งภาวนาพระคาถากำกับซ้ำอีกครั้ง
วัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้น นอกจากสร้างโดยโครงลวดแล้ว วัวธนูของหลวงพ่อน้อย ที่สร้างด้วยชันโรงล้วนๆ ก็มี แต่ไม่มากนัก ผู้เข้าร่วมพิธีเล่าให้ฟังว่า ขณะทำพิธีนั้น ชันโรงที่เคี่ยวเตรียมไว้นั้นเหลือ และผู้เข้าร่วมพิธีต้องการวัวธนูเพิ่มอีก หลวงพ่อท่านก็จะปั้นให้ โดยไม่ต้องมีลวดเป็นโครงร่าง ซึ่งวัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้นจะมีรูปลักษณ์ และขนาดเล็ก ใหญ่ต่างกันไป แล้วแต่ผู้สร้างจะออกรูปแบบโครงสร้างของลวดเป็นแบบไหน วัวธนูตัวที่ใหญ่ที่สุดมีการสร้างตัวยาวถึง ๖ นิ้วก็มี แต่ไม่มากนัก
ส่วนวัวธนูที่สร้างจากเขาวัวกระทิงนั้น มีการสร้างไว้ไม่มาก ส่วนใหญ่ผู้สร้างแกะเขาเป็นรูปวัวมา แล้วเข้าร่วมในพิธี มีด้วยกันหลายฝีมือ
ลักษณะที่พึงสังเกตวัวธนูของหลวงพ่อน้อย
๑.วัวธนูที่แท้จริง จะมีโครงลวด และแผ่นตะกรุด จึงทำให้มีน้ำหนัก หากวัวธนูตัวไหนมีน้ำหนักเบา ต้องถามที่ไปที่มาให้ละเอียดถี่ถ้วนแน่ชัด
๒.วัวธนูที่สร้างจากชันโรง เนื้อชันโรงจะแห้งแน่นมาก เมื่อใช้กล้องส่องดู จะเห็นเนื้อชันโรงเหมือนผสมผงอยู่ด้วย แท้จริง คือ เปลือกต้นพุทราที่ผุ เมื่อเคี่ยวรวมกัน
๓.ชันโรงที่ปั้นเป็นวัวธนูจะต้องมีสีแดงดำ อมน้ำตาล สีจะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผิวกายของวัวธนู มีลักษณะหยาบ ไม่เรียบร้อย
๔.ไม่มีการลงอักขระที่ตัววัวธนู ถ้ามีก็ลงภายหลัง ไม่ปิดทองที่ตัววัวธนู ถ้ามีก็ปิดเป็นบางจุดเท่านั้น ถ้าปิดทั้งตัวเป็นการปิดทีหลังแน่นอน เพราะว่าการสร้างวัวธนูนั้นมีกำหนดเวลาในการทำพิธีน้อย และต้องเสร็จในพิธีด้วย
วิธีบูชาวัวธนู การบูชาวัวธนูของหลวงพ่อน้อยจะเหนื่อยก็ครั้งแรกเท่านั้น คือ ต้องไปหาน้ำจากสระถึง ๕ บ่อ บ่อละนิดหน่อย มาใส่แก้วไว้บูชา หาใบพุทรา ๕ ใบ หาใบหญ้าคา ๕ ใบ ให้รวมเป็นขอดไว้ใบละเปราะ แต่ละขอดให้ภาวนาพระคาถา “อุปคุตมัคมาร” ที่ว่า "อิมํ อฺงคพนฺธนํ อธิฏฐามิ"
เสร็จแล้วให้จุดเทียน ๑ คู่ ธูป ๔ ดอก บูชาแล้วให้น้อมระลึกถึงปรมาจารย์ ผู้ริเริ่มการสร้างวัวธนู ก็คือ สมเด็จพระวันรัตน วัดป่าแก้ว เป็นท่านแรก และองค์สุดท้ายให้น้อมระลึกถึงหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง เสร็จแล้วให้ภาวนาพระคาถากำกับวัวธนู ซึ่งมีข้อความดังนี้
"เวทาสากุกุ ทาสาเวทา ยัสสะตะถะสาสา ทิกุกุทิสาสา กุตะกุ ภูตะภุโค โหตุเต ชัยยะมังคลานิ"
เมื่อพูดถึงวัวธนูแล้ว ขอเสริมเรื่องควายธนูสักนิดก็แล้วกัน ที่จริงควายธนูกับวัวธนูนั้นต่างกัน เดิมทีในยุคนั้นมีแต่หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านสร้างเพียงผู้เดียวเท่านั้น สำหรับควายธนูเท่าที่ทราบมีการสร้างด้วยกันหลายอาจารย์ ทางภาคแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างรูปร่างควายธนูจากไม้ไผ่ที่ล้มขวางทาง เชื่อกันว่าขลังในตัว มาเหลาเป็นเส้นตอก นำมาถักเป็นโครงรูปควายธนู แล้วใช้กระดาษสาเขียนอักขระยันต์ใส่บรรจุไว้ในโครงไม้ไผ่อีกที แล้วพอกตัวควายธนูด้วยผง ทาทับด้วยรัก ให้เกิดความคงทน และนำมาปลุกเสก
ด้านพุทธคุณ และคุณประโยชน์ของวัวธนู เชื่อกันว่า วัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้นพุทธคุณครอบจักรวาลจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเมตตามหานิยม มีเสน่ห์ การค้าการขายดีเยี่ยม ปกป้องคุ้มครองทั้งตัวเอง และที่บ้าน ศัตรูกลับมารัก ทำน้ำมนต์ก็ดีเลิศ คือใช้น้ำที่อาบวัวธนูนั้นมาอาบตัวเรา เชื่อว่าจะไม่เจ็บป่วย ถ้าป่วยอยู่ ก็จะหายวันหายคืน ถ้าอาบประจำก็จะทำให้มีโชค มีลาภทั้งปี
หลวงพ่อน้อย คนฺธโชโต วัดศีรษะทอง เดิมชื่อว่า น้อย นามสกุล นารารัตน์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๕ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะโรง ณ ต.ศีรษะทอง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ด้วยอาการสงบ เวลาเพลพอดี
ราคาปัจจุบัน
ขายแล้ว
จำนวนผู้เข้าชม
3682 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
เอราวัณ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0871914956
ID LINE
0871914956
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงไทย / 554-0-03095-8
2. ธนาคารทหารไทย / 599-2-12771-1
3. ธนาคารทหารไทย / 057-2-76735-8




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี